เกิดคำถามขึ้นมากมาย กับผู้ที่ต้องการ มีแบรนด์กระเป๋าผ้าเป็นของตัวเอง ว่า PU คืออะไร ? โพลีเอสเตอร์ ( Polyester ) คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกับ PU หรือไม่ ? แล้วคำว่า Polyurethane คืออะไร ? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน สำหรับใครที่สนใจ อยากรู้ว่า เนื้อผ้าไหนบ้างที่นิยมผลิต

เป็นกระเป๋า ติดตามได้ที่ 6 เนื้อผ้า ที่นิยมใช้ทำกระเป๋าผ้า

ก่อนอื่น เรารู้จักก่อนว่า เนื้อผ้าต่าง ๆ จะถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ เส้นใยจากธรรมชาติ ( Natural Fiber ) และเส้นใยสังเคราะห์ ( Polyester Fiber )

  1. เส้นใยธรรมชาติ ( Natural Fiber ) : เป็นเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม และลินิน มีคุณสมบัติ ในระบายอากาศได้ดี แต่ความคงน้อยกว่าทำให้ยับง่าย ยืดหยุ่นได้น้อย เมื่อซักทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็จะเริ่มยืด หรือย้วยได้
  2. เส้นใยสังเคราะห์ ( Polyester Fiber ) : เป็นเนื้อผ้าที่ประโยชน์หลากหลาย มีความยืดหยุ่นสูงกว่า คงทนกว่า สามารถนำไปใช้งานไดหลากหลาย ปัจจุบัน มีการนำโพลีเอสเตอร์ ไปผสมร่วมกับเส้นใยธรรมชาติ เพื่อช่วยเสริมให้ผ้ามีความแข็งแรงคงทนมากขึ้น เส้นใยโพลีเอสเตอร์ ถูกค้นพบโดย Dr. W.H. Carothers ชาวสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ต่อมา มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นคว้าต่อจนสำเร็จ โดยผลิต เส้นใยโพลีเอสเตอร์ได้สำเร็จ โดยใช้ชื่อว่า Terylene ต่อมาในปี ค.ศ. 1946 บริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา ได้ซื้อลิขสิทธิ์ มาผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อว่า Dacron ( แดครอน ) จึงทำให้ เส้นใยโพลีเอสเตอร์ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

    โพลิเอสเตอร์ เป็นเส้นใยที่ผลิตจาก ปฏิกริยาทางเคมีของ Ethylene Glycol และ Terephthalic Acid  เมื่อรวมสารเคมีดังกล่าว ในกระบวนการผลิต ( Polymer repeat unit ) ประมาณ 80-100 หน่วย จึงจะได้โพลิเอสเตอร์ ที่ทำเป็นเส้นใยได้ โพลิเอสเตอร์ที่ได้ จากการผลิตในชั้นต้น จะผ่านออกมาเป็นเส้น แล้วถูกตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เมื่อต้องการ ทำเป็นเส้นใย ก็จะต้องนำไปหลอมเหลว แล้วกดผ่านแว่น Spinnerette เส้นใยที่กดออกมา กระทบอากาศก็จะแข็งตัว จากนั้น ก็นำไปดึงยืด เพื่อให้เส้นใยมีความเหนียว แข็งแรง

 

คุณสมบัติของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ( Polyester )

โดยพื้นฐานแล้ว คุณสมบัติด้านกายภาพ ของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ได้แก่

  • รูปร่าง ผิวเรียบเสมอกัน : หากมองตามกล้องจุลทัศน์ จะสังเกตเห็นว่า ลักษณะเส้นใย มีการเรียงตัวยาว สม่ำเสมอกันตลอดเส้น อาจจะพบจุดเล็ก ๆ บนเส้นใย ซึ่งเกิดมาจาก Pigment ที่เติมลงไป เพื่อลดความมันของเส้นใยนั่นเอง
  • ความเหนียว : มีความเหนียวแตกต่างกันตั้งแต่ 2.5-9.5 กรัมต่อดิเนียร์ เมื่อตัวผ้าเปียกน้ำ ความเหนียวจะลดลง
  • ความยืดหยุ่น : มีความยืดหยุ่นดี คงขนาดได้ง่าย
  • การดูดความชื้นต่ำ : การดูดความชื้นจะอยู่ที่ 0.4 - 0.6 % ทำให้ย้อมสีติดยาก แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการ และประเภทของผ้าด้วย
  • การทนความร้อน : เนื้อผ้าประเภทนี้ จะหลอมละลายที่อุณหภูมิ 230 - 290 องศา เซลเซียส โดยความร้อน จะไม่ทำให้สีของใยผ้าจางลง โดยเฉพาะ เส้นใยที่ผ่านกระบวนการ ‘ ทำให้อยู่ตัวด้วยความร้อน ( Heat setting ) ’ จะไม่ยืด ไม่หด และไม่ยับง่าย รีดผ้าด้วยอุณหภูมิที่ตั้งไว้ เส้นใยก็จะไม่เป็นอันตราย

 

เส้นใยโพลีเอสเตอร์ กับการใช้งาน ในรูปแบบต่าง ๆ

เมื่อเทียบกับ ผ้าเส้นใยสังเคราะห์อื่น ๆ ผ้าโพลีเอสเตอร์ ถือเป็นผ้าที่นิยมใช้ มากที่สุด สำหรับผ้าโพลีเอสเตอร์ มีชื่อการค้าอยู่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต อาทิเช่น Dacron , Avlin , Encron , Kodel , Trevira , Vycron เป็นต้น และยังมีชื่อแตกต่างกันไป ตามประเทศที่ผลิต อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา - Terylene , ประเทศอังกฤษ - Tetoron , ประเทศญี่ปุ่น - Toray เป็นต้น

 

คุณสมบัติที่ดี ของผ้าโพลีเอสเตอร์ ที่เราควรตระหนัก ก่อนทำการสั่งผลิต สินค้านุ่งห่ม และกระเป๋า ได้แก่ การที่ไม่ยับง่าย สวมใส่สบาย ( เสื้อผ้า ) และดูแลรักษาง่าย เรียกได้ว่า “ Wash and Wear Fiber ”

นอกจากผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์แบบ 100 % แล้ว ยังมีการนิยมนำ โพลีเอสเตอร์ผสมกับผ้าชนิดอื่น ได้ด้วย เช่น เรยอน , ไหม , ฝ้าย , ลินิน ขนสัตว์ เป็นต้น โดยจะใช้ผ้า โพลีเอสเตอร์ ในสัดส่วนที่มากกว่า ( ขั้นต่ำ 60 % ) ผ้าอีกชนิดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น Polyester 65 % , Cotton 35 %

ในส่วนของ การนำผ้าโพลีเอสเตอร์ ไปผสมกับผ้าชนิดอื่น เพื่อให้ได้ ผ้าเส้นใยผสม ที่มีคุณสมบัติดีขึ่น ไม่ว่าจะทั้งความสวยงาม ความคงทน และโอกาส / ประโยชน์ใช้สอย โดยผู้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สามารถผลิตได้ทั้งเนื้อผ้าแบบบาง - หนา ที่สามารถใช้ผลิตเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

 

สรุป ประโยชน์ของผ้าจากเส้นใย Polyester

  1.  สีไม่ซีด : แม้ซักทำความสะอาดบ่อยครั้ง สีก็ไม่ตก สดใหม่อยู่เสมอ และที่สำคัญไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว
  2.  รีดง่าย : หลังจากการซัก สามารถรีดได้เบา ๆ ผ้าก็เรียบแบบ เพราะด้วยคุณสมบัติยืดหยุ่น คืนตัวของผ้า ทำให้ไม่ต้องเปลืองแรงกด หรือไม่มีความจำเป็นต้องรีด
  3. น้ำหนักเบา : ด้วยการทอเส้นละเอียด ทำให้ผ้ามีน้ำหนักเบา แต่ยังสามารถระบายอากาศได้ดี จึงรู้สึกไม่เทอะทะ ไม่หนา อย่างผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ มีความโปร่ง เบา สบายตัว
  4. ยับยาก : ผ้าที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์ (Polyester) จะไม่ยืดหรือหดตัว เมื่อโดนความร้อน และเมื่อซักทำความสะอาด จะยับยาก
  5. ระบายอากาศได้ : หากผลิตเป็นเสื้อผ้า ผู้สวมใส่จะไม่รู้สึกอึดอัด เหงื่อแห้งเร็ว เนื่องจากมีรูระบายอากาศเล็ก ๆ บนเนื้อผ้า
  6. สวมใส่สบาย : เนื้อผ้านุ่ม ละเอียด สัมผัสสบาย มีความยืดหยุ่นที่ดี เมื่อสำหรับการผลิตเสื้อผ้า ผู้สวมใส่ จะรู้สึกสบายผิว เนื้อผ้าไม่หนาจนเกินไป สามารถใส่ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมได้โดยไม่ต้องกลัวอับชื้น

 

PU คืออะไร ? กับคุณสมบัติการกันน้ำ

PU เป็นผ้าที่อยู่ในหมวด เส้นใยโพลิเอสเตอร์ คือเกิดจากเส้นใยสังเคราะห์ 100% แต่จะแตกต่างจากใยผ้าโพลีเอสเตอร์อื่น ตรงที่สารที่ใช้เคลือบ โดยส่วนมาก สารที่ใช้เคลือบส่วนใหญ่ และนิยมใช้อย่างแพ่หลาย จะมี 2 ชนิด ได้แก่ โพลียูรีเทน และ ซิลิโคน แต่แท้จริงแล้วยังมี Polyvinylchloride ( PVC ), กับ Acrylic ( Polyacrylonitrile : PAN ) แต่ทั้ง 2 ชนิดนี้ จะไม่ค่อยยืดหยุ่น โดยเฉพาะ เวลาเจออุณหภูมิต่ำ ๆ นอกจากนั้น PVC ยังมีน้ำหนักมาก อีกทั้งกระบวนการผลิต ก็ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่เป็นที่นิยมใช้

  • โพลียูรีเทน ( Polyurethane ) : หรือที่เรียกว่า PU สามารถเคลือบได้ ทั้งผ้าโพลีเอสเตอร์ หรือ ไนลอน เป็นการเคลือบที่ทั่วไปใช้กัน สารเคลือบ PU มีหลากหลายสูตร มีทั้งแบบคุณภาพต่ำ และสูง คุณสมบัติการกันน้ำ และอายุการใช้งาน ก็แตกต่างกันด้วย ผ้าที่คุณภาพต่ำ ราคาถูก ก็มักจะใช้ PU เกรดต่ำ ที่กันน้ำไม่ดี และอายุสั้น
  • ซิลิโคน ( Silicone ) : ใช้เคลือบผ้าไนลอน ซึ่งจะกลายเป็นผ้าที่เราเรียกกันว่า Silnylon ตัวนี้ เคลือบแล้วผ้าจะกันน้ำได้ดีกว่า แต่การผลิตใช้เวลาเยอะกว่า ราคาก็เลยแพงกว่าด้วย ผ้าซิลิโคนจะซีลด้วยเทปยาก เพราะผ้ามันลื่น การยึดติดกับสารอื่นทำได้ยาก ถ้าขาดก็เอาเทปแปะไม่อยู่ ปกติก็เลยมักจะเคลือบซิลิโคน ด้านนอกด้านเดียว แล้วอีกด้านเคลือบ Polyurethane เอา ผ้าที่เคลือบซิลิโคน 2 ด้าน จะกันน้ำดีกว่า และมีราคาสูงกว่าที่เคลือบด้านเดียว

สำหรับกระเป๋าผ้า เราจะเน้นการเคลือบด้วย Polyurethane มากกว่า เนื่องจากการผลิตที่จำนวนมาก จึงมีความคุ้มค่ากว่า การเคลือบด้วย Silicone อีกทั้งการเคลือบด้วย Silicone นิยมนำไปผลิต เต้นท์ , ร่มขนาดใหญ่ มากกว่านำมาใช้ กับการผลิตกระเป๋าผ้า เป็นการใช้งานที่แตกต่างกัน  ใครที่ต้องการมีแบรนด์กระเป๋า ต้องทำการศึกษาให้ดี ถึงประเภทเนื้อผ้าที่ใช้ทำกระเป๋าผ้า และกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการขาย สามารถติดตามเพิ่มเติม ได้ที่ 6 กลุ่มเป้าหมายสั่งทำกระเป๋าผ้าแจกแล้วจะปังค์

สนใจจะทำกระเป๋าผ้า หรือถุงผ้า สกรีนโลโก้ ของตัวเอง เพิ่มส่งต่อสิ่งๆดีให้กับผู้รับ ก็ติดต่อโรงงานผลิตกระเป๋าผ้าได้ที่

https://www.thaidesignguru.com
?LineID : @designguru
☎️ Tel: 088-6532999

#รับทำกระเป๋าผ้าร่ม #รับผลิตกระเป๋าผ้าพับได้ #รับผลิตกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน #สั่งทำกระเป๋าผ้าพรีเมี่ยม #สั่งทำกระเป๋าผ้าสกรีนโลโก้หน่วยงาน