สำหรับผ้าที่นิยมใช้ อย่างกว้างขวางมากที่สุด คงหนีไม่พ้น ผ้าสปันบอนด์ แต่สำหรับคนที่ ไม่ได้อยู่วงการสิ่งทอ อาจจะไม่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากสังเกตดี ๆ เราจะรู้เลยว่า ผ้าสปันบอนด์ อยู่ในชีวิตประจำวันของเรามานาน และอยู่ในแทบทุกสินค้า สังเกตง่าย ๆ คือ ผ้าที่มีลักษณะเหมือนทิชชู่ ด้วยคุณสมบัติบางอย่าง
ของผ้าสปันบอนด์ ที่ทำให้เป็นที่นิยม จนถึงทุกวันนี้
ทำความรู้จักกับ ผ้าสปันบอนด์
ผ้าสปันบอนด์ เกิดจากเส้นใยสังเคราะห์ ของโพลิเมอร์ ที่เป็น “ Polypropylene ( PP ) ” โดยแท้จริงแล้ว จะเรียกว่า Nonwoven แต่เรานิยมเรียกกันว่า สปันบอนด์มากกว่า ทั้งสองชื่อนี้ คือผ้าชนิดเดียวกัน สำหรับเส้นใย Polypropylene ( PP ) เป็นใยสังเคราะห์ ที่ไม่ผ่านการถักทอ แต่เป็นการฉีด เส้นใยฟีลาเมนท์ต่อเนื่อง ( Continuous Filament ) รวมกับไฟเบอร์ ขณะที่กำลังร้อนอยู่ ให้สานไป - สานมา และถูกลำเลียงรวมกัน จากนั้นนำมาพิมพ์นูน จนขึ้นรูป และมีลักษณะเหมือนผ้า มีลักษณะคล้ายกับ ลายของกระดาษทิชชู่ ผ้าสปันบอนด์มีความแข็งแรง ทนทาน เหนียวต่อแรงดึงและแรงฉีก ผ้าสปันบอนด์ มีด้วยกันหลายสี ทำให้เราดีไซน์สินค้าออกมาได้ง่าย
คุณสมบัติของ ผ้าสปันบอนด์
ด้วยคุณสมบัติของเนื้อผ้า ที่ยืดหยุ่นง่าย สามารถยืดได้ หดตัวได้ดี ไม่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษ ฯลฯ เป็นเนื้อผ้า ที่ย่อยสลายได้ง่าย ในระยะเวลาสั้น ๆ น้ำหนักเบามาก แต่ก็สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอสมควร ที่สำคัญ คือ ไม่คุณสมบัติดูดซึมน้ำ ไม่มีฝุ่นละออง ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่บนเนื้อผ้า อีกทั้งยังปลอดจากเชื้อแบคทีเรีย มีการค้นคว้า พบว่า เชื้อโรคไม่สามารถเติบโตได้ ในผ้าสปันบอนด์ จึงทำให้เป็นที่นิยมในวงการแพทย์ และสินค้าสุขอนามัยต่าง ๆ โดยสำหรับการใช้งาน ในโอกาสต่าง ๆ เลือกสรรตามความหนาของผ้า เป็นการวัดความหนาต่อตารางเมตร มีหน่วยเรียก คือ แกรม ( gram ) โดยได้รับความนิยมตั้งแต่ 10 - 150 gram เป็นต้น
ผ้าสปันบอนด์ สามารถย่อยสลายตัวเองได้ ภายใน 5-10 ปีเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
สรุป คุณสมบัติของผ้าสปันบอนด์
- แข็งแรง ฉีกขาดได้ยาก : จากกระบวนการต่อสลับไป - มา อย่างต่อเนื่อง ที่เรียกว่า “ Continuous Filament ” ทำให้เนื้อผ้าแข็งแรง ทนทานได้ ถึงแม้จะไม่ใช่การถักทอ
- เพิ่มความหนา - นุ่ม ได้ตามความเหมาะสม : อยากที่กล่าวไปว่า ความหนา - บางของเนื้อผ้า จะขึ้นอยู่กับโอกาสที่ใช้งาน เช่น อุปกรณ์การแพทย์ จะใช้ที่ความหนา 14 - 150 gram , กระเป๋าผ้า จะมีความหนาอยู่ที่ 45 -75 gram เป็นต้น
- ยืดหยุ่นได้ง่าย : เนื่องจากเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่มีคุณสมบัติคงทนเป็นพิเศษ มากกว่าเส้นใยธรรมชาติ อีกทั้งยังรับน้ำหนักได้ดี ไม่ยับง่าย
- มีเสถียรภาพต่อความร้อน และสารเคมีได้ดี : ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงทำให้ผ้าสปันบอนด์ นิยมนำไปทำ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ สามารถใช้แล้วทิ้งได้
- ย่อยสลายได้ง่าย : ถึงแม้ว่าจะ ผ้าสปันบอนด์ จะผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ แต่เมื่อเทียบว่าเส้นใยสังเคราะห์อื่น เช่น พลาสติก เป็นต้น ผ้าสปันปอนด์ ถือว่าย่อยสลายได้เร็วมาก ใช้เวลาเพียง 5 - 10 ปี ต่างจากพลาสติก ที่ใช้เวลาย่อยสลาย มากกว่่า 450 ปี
- ติดสีได้ง่าย : โดยเฉพาะสีสกรีน ที่มักนิยมใช้ทำเป็นกระเป๋าผ้า เช่นงานสกรีนโลโก้ , องค์กร , ลายกราฟฟิคต่าง ๆ เป็นต้น
- สะอาด ปลอดภัย : เนื่องจากคุณสมบัติ ในการป้องกันเชื้อโรค ของผ้าสปันบอนด์ ที่ไม่เป็นแหล่งในการสะสมของแบคทีเรีย ทำให้ผ้าสปันบอนด์ นำมาผลิตเป็น สินค้าสุขอนามัยต่าง ๆ และแฝงอยู่ เป็นสินค้าประจำวันทั่วไป
สินค้า ที่นิยมใช้ผ้าสปันปอนด์ ในการผลิต
แท้จริงแล้ว ผ้าสปันบอนด์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้กับหลายอุตสาหกรรม อาทิเช่น พรมสำนักงาน , เครื่องนอน - เฟอร์นิเจอร์ , ส่วนประกอบในสายไฟ , ทางการเกษตร ใช้ปกคลุมหน้าดิน , ช่อดอกไม้ , ซับใน เป็นต้น ขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ ของการใชัประโยชน์ผ้าสปันบอนด์ ในสินค้า / ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆ
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ : ส่วนใหญ่แล้ว สำหรับผ้าสปันบอนด์ จะเน้นผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้แล้วทิ้ง อาทิเช่น มาร์กหน้า , ชุดผ่าตัดมาตรฐาน , ชุดคลุม , หมวก , กางเกง , ถุงหุ้มรองเท้า , ถุงหุ้มหมอน , ผ้าปูที่นอน , ผ้าม่าน ฯลฯ ถึงแม้ว่า ผ้าสปันบอนด์ จะไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แต่เราก็ไม่นิยม นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วย
- สินค้าสุขอนามัย : นิยมใช้มากที่สุด คือ ผ้าอ้อมเด็ก , ผ้าออมผู้ใหญ่ และผ้าอนามัย เนื่องจากคุณสมบัติของผ้าสปันบอนด์ ที่ไม่เป็นสารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อผิว จนทำให้ผิวระคายเคือง น้ำหนักเบา ไม่ดูดซับน้ำ รวมถึงระบายอากาศได้ดีด้วย ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การผลิตสินค้า จำพวกสุขอนามัย มีความหลากหลายมากขึ้น มีการทำให้สินค้า มีความหนาน้อยลง ดีไซน์หลากหลาย หรือจะเป็นการใส่กลิ่นน้ำหอมอ่อน ๆ โดยที่ไม่ระคายเคืองต่อผิว
- บรรจุภัณฑ์ : ได้แก่ ถุง ( ใช้แทนถุงพลาสติก ) , ผ้าใบกันน้ำ ( ตัวอย่าง เต้นท์และรถบรรทุก ) , ถุงใส่เครื่องหอม ( บุหงา ) , ของใช้สำหรับโรงแรม ฯลฯ
- งานก่อสร้าง : โดยส่วนมากแล้ว ผ้าสปันปอนด์ จะถูกนำไปใน ส่วนของการหนุนหลังคาบ้าน / กระเบื้อง , แผ่นหุ้มตัวบ้าน , งานตัดต่อ , การทำนั่งร้าน และหญ้าเทียม เนื่องจากมีคุณสมบัติ ในการไม่ดูดซึมน้ำ แสงแดด ทนต่อความชื้น ป้องกันการเกิดเชื้อรา และป้องกันแสดงแดดได้ดี นอกจากนี้ ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปแปรรูป เป็นสินค้าชนิดอื่น ได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำด้วย
- อุตสาหกรรมรถยนต์ และไส้กรอง : มักจะพบมากใน พรมรถยนต์ , ส่วนประกอบภายในรถยนต์ , ไส้กรองอากาศ , ตะแกรงกรองฝุ่น เป็นต้น เนื่องจากผิวสัมผัสของผ้า ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิว มีความเรียบนุ่ม สม่ำเสมอ ง่ายต่อการตัดเย็บ อีกทั้ง ยังล้างทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
- กระเป๋าผ้า : อีก 1 ไอเท็ม ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน สำหรับการผลิตกระเป๋า จากผ้าสปันบอนด์ คุณสมบัติที่ดีของกระเป๋าผ้า คือ ความคุ้มค่าในการใช้งาน ซึ่งสำหรับเนื้อผ้าสปันบอนด์ ก็ติดอันดับ 6 เนื้อผ้าที่นิยมใช้ทำกระเป๋าผ้า เช่นกัน การเลือกความหนาของผ้าสปันบอนด์ ที่เหมาะสมสำหรับ การทำกระเป๋าผ้าพรีเมี่ยม ควรมีความหนาระหว่าง 45 แกรม - 75 แกรม เพราะมีความหนาที่มากจนเกินได้ หรือบางจนเกินไป
ทำไม ? ผ้าสปันบอนด์ถึงนิยมทำเป็นถุงผ้า
- ถุงผ้าสปันบอนด์ มีเนื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก สามารถพับเก็บ ใส่กระเป๋าเดินทางได้ ไม่ว่าจะเดินทางไปต่างประเทศ หรือต่างจังหวัด เพื่อใช้เป็นกระเป๋าสำรอง สำหรับการเดินทาง
- สามารถผลิต / ออกแบบ ได้หลากหลายดีไซน์ ทั้งยังเป็นกระเป๋าแฟชั่น ไม่ตกยุค เช่น กระเป๋าเครื่องสำอาง , กระเป๋าผ้าช้อปปิ้ง , กระเป๋าเป้หูรูด , กระเป๋าเสื้อผ้า , กระเป๋าสกรีนลายกราฟฟิค ฯลฯ
- เป็นการประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์องค์กรที่ดี ซึ่งหลายแบรนด์ดัง นิยมสั่งผลิต เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมเพื่อสังคม CSR โดยการแจกถุงผ้าลดโลกร้อน ทั้งยังเป็นพื้นที่โฆษณา เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้ง่ายขึ้นด้วย ( ติดตามเพิ่มเติม : 6 กลุ่มเป้าหมาย สั่งทำกระเป๋าผ้าแจก แล้วจะปังค์ ) เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ที่ สามารถพกพาได้สะดวก เกิดการบอกต่อ สามารถสกรีนโลโก้ สโลแกน และข้อมูลติดต่อเพิ่มเติมได้ เรียกได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ ค่อนข้างลงทุนน้อย แต่ได้ผลดีในระยะยาว
- ต้นทุนการผลิตน้อย การผลิตถุงผ้าใส่สินค้าพรีเมี่ยม เพราะต้นทุนของถุงผ้าสปันบอนด์ ไม่ค่อยสูงมาก แต่ยังคงไม่ความคงทน
ข้อควรระวัง : ข้อเสียของเนื้อผ้าสปันบอนด์ คือ ไม่สามารถซัก / ทำความสะอาดได้หลายครั้ง หรือไม่ควรซักเกิน 2-3 ครั้ง เพราะเนื้อผ้า ไม่ได้ถักทอเหมือนเนื้อผ้าทั่วไป ทำให้กระเป๋าผ้าสปันบอนด์ อาจเกิดการฉีกขาดได้
สำหรับใคร ที่ต้องการมีแบรนด์กระเป๋าผ้า เป็นของตัวเอง หรือต้องการสั่งผลิตกระเป๋าผ้า เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ ต้องทำการศึกษาให้ดี ถึงประเภทเนื้อผ้า ที่ใช้ผลิตกระเป๋าผ้า กลุ่มลูกค้า และดีไซน์ที่เหมาะสม ที่เราต้องการขาย หรือแจก เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ( สามารถติดตามเพิ่มเติม ได้ที่ 5 วิธี การสร้างแบรนด์กระเป๋าผ้าของตัวเอง ให้ปังค์! )
ทางเราพร้อมที่จะให้บริการ ออกแบบ และให้คำปรึกษา ในเรื่องการผลิตกระเป๋าผ้า ทุกชนิด
ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย มีสีให้เลือกมากกว่า 15 สี
ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเข้ามาได้ ผ่านทาง
Line : @designguru
Tel : 088 - 653 - 2999
ขอบคุณภาพจาก: https://www.pinterest.com